ทำธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องสำอางแบบไม่ให้โดน อย. จับ

ทำธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องสำอางแบบไม่ให้โดน อย. จับ

จากที่เราเห็นข่าวกันทีวีหรือสื่อออนไลน์บ่อย ๆ ในเรื่องของการจับกุมอาหารเสริมหรือเครื่องสำอางที่ไม่ได้รับการผ่านอย. มาจำหน่าย ทำให้ทาง อย. จึงต้องออกมาคุมเข้มกันมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องสำอาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่คิดจะผลิตอาหารเสริมหรือผลิตเครื่องสำอาง เนื่องจากสินค้าจะเป็นของใหม่ ไม่เป็นที่รู้จักของตลาด ทำให้ความน่าเชื่อถือมีน้อยกว่า สินค้าที่มีชื่อเสียงหรือสินค้าที่อยู่ในตลาดมานานกว่า แต่วันนี้เราก็มีวิธีมาบอกกันกับการทำธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องสำอางแบบไม่ให้โดน อย. จับถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกัน

เตรียมความก่อนลงเล่นในสนามธุรกิจ

ถึงแม้ว่าการเริ่มธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องสำอางในยุคนี้จะง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ เนื่องจากมีมีโรงงานรับผลิตอาหารเสริม หรือโรงงานรับผลิตเครื่องสำอางที่ให้บริการอย่างครบวงจร ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ พยายามเข้าสู่ตลาดนี้กันตลอดเวลา โดยเราจะต้องเตรียมความพร้อมดังนี้

ต้องการเล่นในสนามไหน

ลองเลือกสนามแข่งด้วย 4 คำถามง่าย ๆ ว่าวางตำแหน่งสินค้าได้ชัดเจนมากเพียงใด

  • ขายให้ใคร
  • ขายผ่านช่องทางไหน
  • ขายสินค้าอะไรบ้าง
  • อยากให้สินค้าของเรามีภาพลักษณ์แบบไหน

ใครคือผู้เล่นในสนามเดียวกัน

เราจะต้องทำการสำรวจตลาดว่าในสนามเดียวกันนั้น มีคู่แข่งเป็นรายใหญ่หรือรายเล็กมากน้อยแค่ไหน ผลประกอบการณ์เป็นอย่างไร มีการลงงบโฆษณาโปรโมทสินค้ามากน้อยแค่ไหน ผลตอบรับเป็นอย่างไร

สินค้าของเรามีความแตกต่างมากพอที่จะอยู่ในรอดในตลาดหรือไม่

ถ้าสินค้าของเรานั้นไม่มีความแตกต่างกันเลย หรือความแตกต่างนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ตลาดต้องการ ไม่อยู่ในกระแส คุณจะเป็นผู้นำสร้างกระแสนั้นด้วยตนเองหรือไม่ ซึ่งอาจต้องใช้งบลงทุนมหาศาล แต่เมื่อกระแสเกิดขึ้น ก็จะมีผู้ตามกระแส เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากคุณทันที

5 สิ่งที่ต้องระวังในการทำธุรกิจ ไม่เสี่ยงให้โดน อย. จับ

ขึ้นทะเบียนต้นตำรับให้ถูกต้องกับ อย.

ในฐานะเจ้าของเงินทุน หากต้องจ้างผลิต ต้องขอดูเอกสารที่ได้รับรองจาก อย. เป็นเอกสารจริง สูตรตรงตามที่ยื่นจดแจ้ง และผลิตตามข้อมูลที่ยื่นจริง ไม่แอบเปลี่ยนสูตรหลังจากได้รับอนุญาต ศึกษาส่วนผสมที่พึงระวังเช่น สารบางตัวห้ามใช้ หรืออนุญาตให้ใช้ในปริมาณต่ำกว่าที่กำหนดเท่านั้น ให้แน่ใจว่าสินค้าไม่มีส่วนผสมของสารต้องห้าม หรือใส่เกินปริมาณที่กำหนดในสารเคมีบางตัว

อย่าอวดอ้าง หรือโฆษณาเกินจริง

การกล่าวอ้างหรือโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ทำการวิจัยแบบลำเอียงเพื่อผลประโยชน์เข้าข้างสินค้าตนเอง ทำให้สินค้าดูน่าเชื่อถือ ดึงดูดให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ซึ่งอาจต้องโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยกลยุทธ์ในการโฆษณาที่ได้ผลมักจะเป็นการบอกต่อ

หาแหล่งวัตถุดิบที่น่าเชื่อถือ

วัตถุดิบชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันในแต่ละแหล่ง จึงควรเลือกเฉพาะแหล่งที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ มีการตรวจสอบไม่มีสารปนเปื้อน หลายครั้งที่ผู้ประกอบการมักเลือกวัตถุดิบราคาถูก คุณภาพต่ำ ไม่ผ่านมาตรฐาน แล้วนำมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตแต่อาจอันตรายสำหรับผู้บริโภค

เลือกผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP

ขั้นตอนในการผลิตถือเป็นสิ่งสำคัญ การเลือกโรงงานควรเลือกที่ได้มาตรฐาน GMP เพราะสามารถตรวจสอบเอกสารทุกขั้นตอนได้ ไม่หมกเม็ด เจ้าของผลิตภัณฑ์อาจจะขอเยี่ยมชมโรงงาน ดูใบรับรองโรงงานที่ได้รับจริง ครอบคลุมมาตรฐานด้านไหนบ้าง

จริยธรรมของผู้ประกอบการเอง

ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่มุ่งเน้นรวยแบบไร้จรรณยาบรรณ ผู้ประกอบการย่อมอยากให้สินค้าขายดี สร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจตนเอง จึงละเลยผลเสียที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค บางครั้งหลังจากได้รับอนุมัติจาก อย. แต่ลักลอบปรับเปลี่ยนสูตรจากที่ได้รับอนุมัติ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้แล้วเห็นผลอย่างรวดเร็ว ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

แหล่งที่มา : taokaemai.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *